" ยิ้มอยู่ แต่ทำไมข้างในมันเศร้าจังล่ะ "พูดถึงความเศร้าเราก็ต้องเห็นน้ำตาหรือหน้าที่หม่นหมองกันส่วนใหญ่ แต่กลับมุมหนึ่งของคนที่สดใสกลับซ่อนอะไรไว้ในใจมากมายบ้างก็ไม่รู้ด้วยความแสดงออกของแต่ละคนนั้นค่อนข้างต่างกันบางคนเสียใจแต่กลับไม่พยายามแสดงออกให้ใครรู้ว่าตนนั้นกำลังเสียใจแต่บางคนก็แสดงออกมาอย่างชัดเจนว่าฉันน่ะกำลังเสียใจอยู่นะ ซึ่งบอกเลยว่าคนที่เก็บอาการเก่งน่ะน่ากลัวกว่าใครๆ เพราะต้องรับทุกอย่างมาเก็บไว้และไม่กล้าปรึกษาคนอื่น ถึงแม้อยากปรึกษาแต่อีกมุมหนึ่งก็ไม่อยากพูดไปให้อีกฝ่ายไม่สบายใจในเรื่องตัวเอง ฉะนั้นเรามาสังเกตตัวเองกันดีกว่าว่าเราเข้าสู่โหมดนี้หรือยัง และมาทำความเข้าใจกับอาการแบบนี้กัน

★。・ 。・:・゚☆ 。・:★

ภาวะ Smiling Depression ภายนอกสดใส ข้างในใจพัง

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/1e/a5/54/1ea55470c894ca569974e81f58d0945c.jpg

Smiling Depressionได้ถูกตีความหมายเป็นhigh-funtioning depressionหรืออาการซึมเศร้าที่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติทั้งยังเป็นคนที่มีบุคลิกภายนอกที่สดใส ร่าเริง ยิ้มง่ายหัวเราะง่าย แถมยังเป็นคนที่สามารถสร้างเสียงหัวเราะให้กับคนอื่นได้ดีอีกด้วย แต่ในเวลาเดียวกันอาจจะเป็นคนเดียวที่เมื่อถึงเวลาที่อยู่กลับตัวเองจะจมดิ่งนอนเศร้าแบกรับทุกเรื่องที่สามารถนำมาเก็บและมาคิดได้โดยอาการเหล่านี้นั้นพบได้ว่าจะมีความแตกต่างกันออกไปกับคนที่เป็นซึมเศร้าประเภทอื่น เพราะเมื่อเข้าสู่อาการ Smiling Depressionแล้วนั้นการแสดงออกเรื่องเศร้าจะไม่มีให้คนอื่นเห็น เพราะใช้รอยยิ้มในการกลบเกลื่อนข้างนอกไปหมดแล้ว ซึ่งบางคนที่เข้าข่ายอาการนี้ยังไม่รู้ตัวเองด้วยว่ามีอาการนี้แอบแฝงอยู่ เพราะมักจะเก็บความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเองไว้ จนทำให้บางครั้งทำไปด้วยความเคยชินและไม่เข้าใจความรู้สึกตัวเองจริง ๆ

เช็กอาการของภาวะ ' Smiling Depression'

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/9b/6a/d2/9b6ad21fa68595df6355c41b5ade43be.jpg

1. ไม่อยากให้ตัวเองเป็นภาระ

ไม่ต้องการให้คนอื่นนั้นมาแบกรับความลำบากหรือความกังวลใจต่าง ๆ ของตนเองไว้ หากมีการเข้าไปปรึกษาเรื่องของตัวเอง โดยคนที่รู้สึกแบบนี้นั้นค่อนข้างเป็นคนที่ชอบใส่ใจคนอื่นหรือชอบดูแลคนอื่นนั่นเอง

2. ไม่อยากให้ส่งผลต่อหน้าที่การงาน

เมื่อเข้าสู่สภาวะการทำงานการกดดันต่าง ๆ นั้นมากขึ้นเป็นเท่าตัว ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้จะมีคนที่เข้าใจถึงอาการนี้มากขึ้นแล้วก็ตาม แต่ด้วยฐานะหรือตำแหน่งงานที่ตนทำนั้นอาจจะยากที่ต้องแสดงออกให้คนอื่นรู้ เพราะอาจจะมีการส่งผลในทางที่ไม่ดีให้กับตนเอง จึงเลือกที่จะปกปิดอาการเหล่านี้ไว้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบหรือส่งผลที่น้อยที่สุด

3. ไม่อยากยอมรับความเศร้า

พฤติกรรมของคนเรานั้นมีการแสดงออกมาแตกต่างกัน และมุมมองความเข้าใจของเรื่องต่าง ๆ ก็ต่างกันเช่นกัน ฉะนั้นอาการนี้ในมุมมองของบางคนอาจจะดูน่ากลัวเกินไป เลยทำให้เราต้องเลือกที่จะยิ้มยอมรับไว้ ทั้งที่ข้างในนั้นอาจจะค่อย ๆ แตกสลายไปเลยก็ได้

รูปภาพ:https://i.pinimg.com/564x/0a/0e/be/0a0ebe142be5d38dafbb76774b8cf2b5.jpg

4. ไม่อยากรู้สึกว่าตนเองนั้นไม่สมบูรณ์แบบหรือไม่อยากรู้สึกอ่อนแอ

เมื่อมีเรื่องต่าง ๆ ประเดประดังเข้ามาในชีวิตบางครั้งก็ต้องยอมที่จะยิ้มรับเพื่อสู้ และเพื่อทำให้เรารู้สึกว่าเราสามารถรับมือได้และเข้มแข็งอยู่ตลอดเวลา และคนที่มีความเสพติดหรือพฤติกรรมที่ชอบความสมบูรณ์แบบในตนเอง (perfectionist) อาจจะยอมรับความเจ็บปวดไม่ว่าจะทางกายหรือทางจิตใจได้ค่อนข้างยากมาก

5. ไม่อยากแปลกแยก

เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ความเจริญที่ไร้พรมแดน Socia Media จึงเข้าถึงกันมากขึ้น และปัจจุบันคนส่วนใหญ่ก็ได้มีการนำเสนอมุมความสุขในแบบฉบับของตนเองลงในพื้นที่โซเชียลมากขึ้น พอเรานั้นรู้สึกเศร้า รู้สึกแย่ จึงทำให้เรามักรู้สึกว่าโดดเดี่ยวและแปลกแยกจากคนทั่วไป ทำให้บางครั้งไม่กล้าที่จะยอมรับหรือเปิดเผยออกไปมากเกินไปไม่ว่าจะเป็นทางโซเชียล หรือคนรอบข้าง

★。・ 。・:・゚☆ 。・:★

หากลองสังเกตตัวเองแล้วพบว่าเราเข้าข่ายอาการ Smiling Depression อยู่ขอแนะนำให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำปรึกษาและรีบแก้ไข(แต่ถ้าไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไง อาจจะลองติดต่อสายด่วยสุขภาพจิต 1323 ก่อนได้เลยนะ)เพื่อตัวเราเองนะคะ อย่าปล่อยไว้ให้เรารู้สึกว่าเราเคยชินได้ไปเรื่อย ๆ เพราะเมื่อทุกอย่างมากระจุกไว้เยอะ ๆ อาจจะแตกสลายออกมาได้ง่าย ๆ ไม่บอกไม่กล่าวกับใคร อยากให้ทุกคนรักตัวเองมาก ๆ เมื่อรู้สึกเศร้าหรือเสียใจการระบายที่ดีคือร้องไห้ออกมาหรือร้องไห้กับคนที่เราสบายใจได้นะคะ บางครั้งเราไม่ต้องพยายามแบกทุกอย่างไว้เพื่อให้ตัวเองจมดิ่งกับความรู้สึกนั้น และเราก็ไม่ต้องพยายามเข้มแข็งเกินไปอนุญาตให้ตัวเองอ่อนแอได้ก็พอแล้ว ;-;